ความเป็นมา มข. ม.อ. มช.

สืบเนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เห็นชอบและร่วมมือลงนามในบันทึกข้อตกลงตามความร่วมมือว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี มข.- ม.อ. โดยมีที่มาจากอธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ในสมัยวาระการดำรงตำแหน่งของ รศ.ดร. บุญสม ศิริบำรุงสุข ได้หารือร่วมกับอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่นในสมัยวาระ รศ.ดร. สุมนต์ สกลไชย และเสนอว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ “ควรมีโครงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน อาจใช้ชื่อโครงการว่าโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี มข.-ม.อ. โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ เน้นทางด้านวิชาการ การวิจัย การพัฒนาบุคลากร ทั้งนี้ ทั้งสองมหาวิทยาลัยคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะเกิดความร่วมมือและสามารถทำให้เกิดเป็นรูปธรรม”

สรุปรายละเอียด ได้ดังต่อไปนี้ สรุปรายละเอียดได้ ดังต่อไปนี้

1) ในระยะเริ่มต้นทั้งสองมหาวิทยาลัยได้หารือและวางแนวทางความร่วมมือเพื่อให้เกิดการพัฒนา โดยกำหนดรายละเอียดสำคัญ ประกอบด้วย

1.1 วัตถุประสงค์   

1.1.1 เพื่อให้มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ การบริหาร การจัดการเพื่อให้มหาวิทยาลัยทั้งสองมีการพัฒนา มีความก้าวหน้าในอัตราที่รวดเร็วยิ่งขึ้น

1.1.2 เพื่อโปรดโอกาสให้นักวิชาการและบุคลากรได้ดำเนินการภารกิจที่เกี่ยวข้องกันเพื่อกระชับความสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัย

1.1.3 เพื่อเปิดโลกทัศน์ให้กับบุคลากร และเข้าใจบริบทของต่างพื้นที่มากขึ้น

1.1.4 เพื่อเป็นเครื่องมือสร้างความมือในการพัฒนาบุคลากร

1.1.5 เป็นการร่วมมือเพื่อผลักดันการวิจัยและการพัฒนาเพื่อสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม และร่วมเป็นแหล่งการเรียนรู้เรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารองค์กร

1.2 ขอบเขตเนื้อหาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการการวิจัยและบัณฑิตศึกษา  ด้านการเรียนการสอนและการศึกษา  ด้านการพัฒนานักศึกษา  ด้านการบริหารและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการวางแผนและพัฒนา การงบประมาณ การสร้างรายได้ และด้านการประเมินคุณภาพทางด้นวิชาการและการประเมินคุณภาพสถาบัน1.2 ขอบเขตเนื้อหาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย ด้านการบริหารจัดการการวิจัยและบัณฑิตศึกษา  ด้านการเรียนการสอนและการศึกษา  ด้านการพัฒนานักศึกษา  ด้านการบริหารและการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านการวางแผนและพัฒนา การงบประมาณ การสร้างรายได้ และด้านการประเมินคุณภาพทางด้นวิชาการและการประเมินคุณภาพสถาบัน

1.3 วิธีการดำเนินการ โดยมีกิจกรรมโดยมีกิจกรรมในลักษณะ Sharing Shadowing Training การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงาน ร่วมค้นหาวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) และการทัศนศึกษาให้หมุนเวียนการทำหน้าที่เจ้าภาพจัดเสวนาประจำปี

2. เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2553 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์แจ้งมายังมหาวิทยาลัยขอนแก่น เรื่อง โครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี มข.- ม.อ. และมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พิจารณาและเห็นชอบ โดยตอบรับและยินดีให้ความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ตามโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี มข.-ม.อ. ซึ่งรายนามผู้บริหารที่เป็นคณะทำงานทั้งสองมหาวิทยาลัย ดังนี้

ฝ่ายมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ฝ่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น
1) อาจารย์พิชิต เรืองแสงวัฒนา 1) รศ.รังสรรค์ เนียมสนิท
(รองอธิการบดี) (รองอธิการบดีฝ่ายแผนและสารสนเทศ)
ประธานคณะทำงาน ประธานคณะทำงาน
2) รศ.นพ. วรัญตันขัยสวัสดิ์ 2)รศ.ดร.สัญญา  ร้อยสมมุติ
(รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาบุคลากร) (รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และพัสดุ)
3) รศ.ดร.ปิติ ทฤษฎีคุณ 3) รศ.ดร. กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย
(รองอธิการบดีวิทยาเขตตรัง) (รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี)
4) รศ.นวลจิรา ภัทรรังรอง 4) ผศ.นพ.ไชยวิทย์  ธนไพศาล
(ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ)  (ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายประกันคุณภาพ)
5) นายเที่ยง จารุมณี 5) นายอัศนีย์ ฐานสันโดษ
(ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่) (ผู้อำนวยการกองการเจ้าหน้าที่)
6)นางสาวภาวนา กิตติวิมลชัย
(สำนักงานประเมินและประกันคุณภาพ)

 

3. ต่อมามหาวิทยาลัยทั้งสองแห่งได้จัดประชุมร่วมเพื่อหารือเรื่องการเตรียมการและการจัดโครงการฯ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2553 ณ ห้องประชุมชั้น 6 สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา โดยมีแนวทางการดำเนินการขับเคลื่อน ดังนี้

3.1 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะเป็นเจ้าภาพจัดเสวนาโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี  มข.- ม.อ. ครั้งแรก โดยมีกิจกรรมพิธีลงนามความร่วมมือ และกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ ด้านการบริหารงานวิจัย และการนำเสนอผลงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาภูมิภาคของแต่ละฝ่าย การบริหารงานบุคคล การประกันคุณภาพ PMQA และเรื่องอื่นๆ เพิ่มเติมตามความเหมาะสม อาทิ การจัดการเรียนการสอนวิชาศึกษาทั่วไป TQF บัณฑิตที่พึงประสงค์บัณฑิตศึกษาและการพัฒนาการศึกษา เป็นต้น

3.2 กำหนดการเบื้องต้น ช่วง 24-27 กรกฎาคม 2553 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  เป็นเจ้าภาพการจัดเสวนาโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ครั้งที่ 1 และ ช่วงเดือนมกราคม 2554 มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเจ้าภาพจัดเสวนาโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ครั้งที่ 2

3.3 ให้ความร่วมมือเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการควบคู่กันไปตลอดทั้งปี คือ กิจกรรม  Shadowing โดยในระยะเริ่มต้นเป็นการแลกเปลี่ยนบุคลากรระหว่างกองในสำนักงานอธิการบดี และขยายผลออกไป

3.4 กิจกรรมที่กำหนดให้มีเพิ่มเติมในระยะเวลาถัดไป คือ การประชุมวิชาการร่วมกันการจัดทำวารสารวิชาการร่วมกัน

3.5 คณะทำงานโครงการฯ ของสองฝ่ายจะได้ร่วมมือและประสานงานอย่างใกล้ชิด

4. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการกิจกรรมทั้งสองฝ่ายรับผิดชอบในส่วนบุคลากรในสังกัดของตน

5. ระยะเวลาความร่วมมือในแต่ละรอบ คือ 3 ปี

5.1 การลงนามความร่วมมือระยะที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 25 กรกฎาคม 2553 – 24 กรกฎาคม 2556

5.2 การลงนามความร่วมมือระยะที่ 2 ตั้งแต่วันที่ 21 ตุลาคม 2556 – 20 ตุลาคม 2559

5.3 มีการขยายความร่วมมือจากเดิม 2 มหาวิทยาลัย เพิ่มเป็น 3 มหาวิทยาลัย ได้แก่มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่